Translate

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

กุ้งเครย์ฟิชในเมืองไทย

ในธรรมชาติกุ้งเครย์ฟิชสามารถอยู่ได้ทั้งในลำธาร หนองน้ำ และทะเลสาบ ปัจจุบันในโลกมีอยู่ประมาณ 500 ชนิด โดยร้อยละห้าสิบนั้นมีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเหนือ
ในประเทศไทย มักนิยมแบ่งเป็น 3 สาย ดังนี้

สายที่ 1 PROCAMBARUS. หรือสาย P หรืออาจเรียกว่า กุ้งก้ามหนาม กุ้งสี
เช่น  กุ้งแดงญี่ปุ่น ไบท์ออเร้น สโนว์ บลูสปอต ถิ่นกำเนิดจะอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ และยุโรป
ลักษณะโดยทั่วไปคือก้ามจะมีหนาม

อวัยสืบพันธุ์เพศเมีย จะเป็นแผ่นวงรี ตำแหน่งอยู่ที่บริเวณโคนขาคู่ที่ 3 นับจากขาหลังขึ้นมา
อวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้ จะมีลักษณะคล้ายตะขอ ยื่นออกมาจากบริเวณโคนขาคู่หลัง








สายที่ 2 CHERAX. หรือสาย C หรืออาจเรียกว่า กุ้งป่า ถิ่นกำเนิดมักอยู่ใน ออสเตรเลีย ปาปัวนิวกินี และอินโดนีเซีย ลักษณะเด่นอยู่ที่ ก้ามมีผิวเรียบไม่มีหนาม ลำตัวมีขนาดใหญ่และหนากว่ารวมถึงอวัยวะเพศก็มีลักษณะแตกต่างกัน
อวัยวะสืบพันธุ์ของเพศเมีย จะอยู่บริเวณโคนขาคู่ที่ 3 นับจากขาหลังขึ้นมา
อวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้ จะอยู่ที่โคนขาคู่สุดท้าย

กุ้งเครย์ฟิชสกุล (Cherax (Cherax spp.) มีรายงานการพบกุ้งก้ามแดงในสกุล Cherax ทั้งหมด 37 ชนิด ตัวอย่างภาพกุ้งก้ามแดงในสกุล Cherax บางชนิดดังด้านล่าง



สายที่ 3 CAMBARELLUS หรือกุ้งแคระ เพราะมีขนาดเล็ก 3-4 เซนติเมตร


          





          

ความรู้ทั่วไปของ CRAYFISH

ลักษณะทางอนุกรมวิธาน


Pennak(1953)ได้ศึกษาลักษณะทางอนุกรมวิธานของ Freshwater crayfish ไว้ดังนี้

Phylum : Arthoropoda
Class : Crustacea
Subclass :Malacostraca
Division : Eucarida
Order :Decapoda



เครย์ฟิช (Crayfish) จดอยู่ในกลุ่มของสัตว์ที่เรียกว่า ครัสเตเซียน (Crustaceans) โดยเป็นสัตว์จำพวกเดียวกับ ไฟลัม อาโทรพอด (Phylum Arthropoda) ซึ่งในฟอลัมนี้ จะมีญาติพี่น้องอื่นๆอีก เช่น
พวกแมลง  (Insect), แมงมุม (Arachnida), ตะขาบและกิ้งกือ(Myriapoda)  ซึ่งสัตว์ในฟอลัมนี้ จะมีเปลือกที่สร้างจากแคลเซียมคาร์บอเนตมาปกคลุมลำตัวโดยเรียกว่า คิวทิเคิล(Cuticle)

            กุ้งเครย์ฟิช หรือ ล็อบสเตอร์น้ำจืด (Freshwater Crayfish) มีถิ่นกำเนิดที่หลากหลาย ทั้งในอเมริกาเหนือยุโรป และเอเซียตะวันออก และออสเตรเลีย
            ในปัจจุบันประเทศไทยมีการเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชเพื่อความสวยงามและเพื่อการบริโภค และกำลังจะพัฒนาไปสู่การเลี้ยงเพื่ออุตสาหกรรมในอนาคตในวงการสัตว์น้ำที่สวยงาม กุ้งเครฟิชทำหน้าที่เก็บซากพืชซากสัตว์กินเป็นอาหาร แต่ถ้าในพื้นที่จำกัดกุ้งเครย์ฟิชจะจับสิ่งมีชีวิตอื่นกินเป็นอาหาร หรือแม้แต่กุ้งเครย์ฟิชเองก็ตาม
              ดังนั้นในวงการการเพาะกุ้งชนิดนี้ จึงมีการคิดค้นวิธีที่จะลดความเสี่ยงในการสูญเสียลงไป
แต่อย่างไรก็ตาม กุ้งจะสามารถเจริญเติบโตในการเลี้ยงอย่างธรรมชาติ มากกว่า เช่น การเพาะเลี้ยงในบ่อดินอาจเพราะกุ้งได้รับแร่ธาตุและสารอาหารที่สะสมอยู่ในพื้นดินใต้น้ำก็เป็นได้






วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560

เข้าใจมากขึ้นกับ กุ้งเครฟิช ( Crayfish )

กุ้งเครฟิชคืออะไร
กุ้งเครฟิช หมายถึงกุ้งมังกรหรือล็อบเตอร์น้ำจืด
         เครฟิช จะมีเปลือกหนาเป็นชุดเกราะคลุมส่วนหัว-อกและลำตัว ส่วนขา  มี 2 ประเภทคือขาเดินและขาว่ายน้ำ สำหรับขาเดินจะมี 5 คู่ด้วยกัน ขาเดินคู่แรกสุดเป็นก้ามที่แข็งแรงใหญ่ไว้ป้องกันตัวและต่อสู้  ส่วนขาว่ายน้ำนั้นจะเป็นแผ่นแบนๆ


การแบ่งประเภท เครย์ฟิช
         กุ้งเครฟิช หรือ Crayfish แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆในบ้านเรา ซึ่งเรียกกันคือ สายP และ สายC  นั่นเอง  
สาย P  (Procambarus clarkii)
      ที่เรียกกันทั่วไปว่าสาย P จะเป็นกุ้งก้ามหนาม ตัวเล็ก ขนาดโตสุดโดยประมาณ 4.5 นิ้ว  เลี้ยงง่าย สีสันสวยงาม ราคามีตั้งแต่ 10 - 1000 ที่จะพบเห็นในตลาดบ้านเราได้แก่ ไบร์ทออเร้น(Bright orange) , สโนว์ไวท์(snow white) , อัลเลนี่(alleni) , เรดเจแปน(Red Japan) ทั้งหมดนี้จะราคาค่อนข้างสามารถซื้อขายมาเลี้ยงกันได้  ยกเว้น Ghost ที่มีราคาสูงซึ่งตอนนี้ตลาดบ้านเรากำลังนิยมเลี้ยงกันมาก ถ้าแพทเทิร์นสวยๆ  สามารถขายได้ สูงถึงเลข 6 หลักกันเลยทีเดียว
 
สาย C (Cherax)
     ที่เรียกกันทั่วไปว่า สายC เป็นกุ้งก้ามเรียบและก้ามใหญ่มาก! และมีขนาดตัวที่ใหญ่! ขนาดโตสุดประมาณ 12 นิ้ว  เลี้ยงง่ายแต่ต้องคอยเอาใจใส่ ราคาขายในท้องตลาด ก็จะสูงต่ำตามฤดูกาลซึ่ง มีขายกันตั้งแต่ ลงเดิน จนถึงพ่อแม่พันธ์ ซึ่งราคาจะค่อนข้างสูง ดังนั้นคนจะเลี้ยงต้องมีใจรักและชอบจริง ที่เราพบเห็นขายบ่อยๆในตลาดบ้านเราได้แก่ เดสทรัคเตอร์(Destructor) , บลูเพิล(blue pearl) , บลูล๊อปสเตอร์(blue lobster) หรือที่เลี้ยงกันว่ากุ้งก้ามแดง นั่นเอง



วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560

Mr.Friday เล่าเรื่องการเลี้ยงกุ้งเครฟิช

Admin: ตอนแรกทำไมถึงมาเลี้ยงกุ้งเครฟิชคะ เริ่มจากอะไร

Mr.Friday: จริงๆ ช่วงนั้นผมมองหาอาชีพเสริมอยู่ครับ  เพราะรายจ่ายเยอะขึ้นแต่รายรับยังเท่าเดิม ทำให้ต้องการหาอาชีพที่สามารถสร้างรายได้เพิ่มครับ, ผมมาสะดุดตรงข่าวเกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้ง ซึ่งสามารถเลี้ยงง่ายๆ และใช้พื้นที่ค่อนข้างน้อยเลี้ยงในบ้านได้ แถมสร้างรายได้ ไม่ต้องลงทุนสูง ผมจึงศึกษาและได้ลองเลี้ยง โดยเริ่มจาก ซื้อกุ้งพ่อพันธ์ุ แม่พันธุ์ ก้ามแดงมา 2 ชุด ชุดละ 1,000 บาท ในเดือนกุมภาพันธ์ 2016 หลังจากเลี้ยงได้ ประมาณ 2 เดือนก็สามารถเพาะพันธ์ุก้ามแดงแม่แรกออกมาได้ ซึ่งทำให้รู้สึกภูมิใจมากจึงได้เริ่มขยายพื้นที่และฟาร์มในบ้านเพิ่ม เลี้ยงมาได้ประมาณ 5-6 เดือนผมก็สามารถขยายก้ามแดงพ่อแม่พันธ์ุเพิ่มขึ้นมากว่า 50 กว่าคู่ ซึ่งตรงนี้เริ่มได้ทุนจากการเลี้ยง และมีรายได้เข้ามา และทุกวันนี้ผมก็ยังเลี้ยงและจำหน่ายให้กับลูกค้า เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่รู้จักในราคาที่จับต้องได้และมันสามารถสร้างรายได้เพิ่มจากอาชีพหลักปัจจุบัน.
     หลังจากมีทุนจึงได้เริ่มมาศึกษาในส่วนของ โกส...และเป็นที่มาสำหรับการเริ่มสร้าง บล็อกนี้ขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ให้กับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่สนใจและต้องการศึกษาการเลี้ยงโกสจริงๆ จากประสบการณ์ตรงของผม เพราะผมเริ่มจาก "ศูนย์" จากการซื้อลงเดินมาเลี้ยง จนสามารถเพราะลูกออกมาได้จริงๆ ในระยะเวลา 3 เดือน เศษๆ 

Admin: จากที่เลี้ยงมาเจอปัญหาอะไรบ้างคะ

 Mr.Friday:กุ้งเลี้ยงค่อนข้างง่ายครับ ที่เจอปัญหา หลักๆ น่าจะเป็นเรื่องของน้ำครับ กุ้งเค้าจะอาศัยอยู่ในน้ำตลอดเวลา เค้าจะเดินที่พื้นเพราะว่ายน้ำไม่เป็น ดังนั้นคุณภาพของน้ำจึงค่อนข้างสำคัญ
-น้ำเสียเกิดจากให้อาหารเยอะเกินไป ทำให้กุ้งป่วยง่าย สังเกตุง่ายๆ กุ้งจะไม่ค่อยกินอาหาร  มีอาการซึม ไม่ค่อยเดิน หลับซ่อนตัวตลอดเวลา

-น้ำเสียเกิดจาก พื้นที่เลี้ยงแคบทำให้น้ำเสียง่าย กุ้งเค้าจะมีอาณาเขตของเค้าครับธรรมชาติ ของเค้าเองดังนั้นเราต้องมีพื้นที่ ที่กว้างพอสำหรับเลี้ยงครับ ขนาดที่เหมาะสมสำหรับเลี้ยงกุ้ง

-การสูญเสียจากกุ้งน๊อกน้ำ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอุณภูมิ แบบสวิงมากๆ ทำให้กุ้งปรับตัวไม่ทัน (ขยายบ่อให้กว้างขึ้นและเพิ่มปริมาณน้ำ เพื่อลดปัญหาอุณหภูมิที่แกว่งบ่อยๆ หรือจะหาผ้าหรือ วัสดุคลุมบ่อก็จะดียิ่งขึ้น) ขั้นตอนการเปลี่ยนถ่ายน้ำต้องคงเหลือน้ำเก่าไว้ด้วยประมาณ 20-30 %
-การสูญเสียจากการลอกคราบของกุ้งไม่ผ่าน กุ้งเค้าจะลอกคราบบ่อยมากๆ ในช่วงที่เค้ายังเล็ก และก็จะยืดระยะเวลายาวนานขึ้นเมื่อเค้าโตขึ้น อันนี้ปัญหาหลักๆที่ลอกคราบไม่ผ่าน เกิดจากคุณภาพของน้ำและอาหารครับ

         ซึ่งปัจจัยที่กล่าวข้างต้น ก็จะนำมาซึ่งการสูญเสีย จากประสบการณ์ผมเอง ที่เลี้ยง ช่วงแรกๆ ก็เจอมาทุกปัญหา ก็ค่อยๆ ปรับแก้ไขลองผิดลองถูกเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นมาอีก สำคัญที่สุดคือเรื่องของเวลา และความใส่ใจครับ หากเราเลี้ยงเค้าด้วยความรัก ความชอบเป็นพื้นฐาน ผมว่าเราจะสามารถแก้ไขปัญหาพวกนี้ได้ครับ